อำเภอสังขะ


ประวัติเมืองสังขะ ปี พ.ศ. 2302 รัชกาลสมเด็จพระที่ นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์แห่งกรุงศรีอยุธยา พระยาช้างเผือกได้แตกโรงจากเมืองหลวงไปอยู่ในป่าดง แขวงเมืองพิมาย เซียงฆะ (หัวหน้าหมู่บ้านโคกอัจจะ) และหัวหน้าหมู่บ้านคนอื่นได้อาสาไปติดตาม ช้างเผือกกลับมาได้ จึงทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเซียงฆะเป็น "พระสังฆะบุรีศรีนครอัจจะ" และยกฐานะบ้านโคกอัจจะเป็นเมืองสังฆะให้ปกครองตั้งแต่ปี พ.ศ. 2306-2321 สมเด็จพระเจ้า กรุงธนบุรีโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเป็นแม่ทัพยกไปทางบกสมทบกับกองกำ ลังเกณฑ์เมืองสุรินทร์ เมืองสังฆะ (ซึ่งเจ้าเมืองสังฆะก่อตั้งเมือง 4 เมืองคือ เมืองสังฆะ เมืองศรี ขรภูมิพิสัย เมืองจงกัลป์ และเมืองกันทรารมย์) และเมืองขุขันธ์ ยกไปตีนครจำปาศักดิ์และเวียง จันทน์ได้ พระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนตำแหน่งเจ้าเมืองทั้ง สามขึ้นเป็นพระยา พ.ศ. 2349 ยกฐานะเมืองทั้ง 3 ขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2371 โปรดเกล้าฯ ให้พระสังฆะฯ (ทองด้วง) เป็นเจ้าเมืองขุขันธ์แทนเจ้าเมืองขุขันธ์ซึ่งถูกกบฏจับฆ่าเสียพ.ศ. 2450 มณฑลอีสาน แบ่งออกเป็น 4 บริเวณ สำหรับบริเวณสุรินทร์มีเมืองในบังคับบัญชา 2 เมือง คือ เมืองสุรินทร์ และเมืองสังฆะ เมืองสังฆะแบ่งเป็น 4 อำเภอ คือ อำเภอสังขะ อำเภอศีขรภูมิ และอำเภอจงกัลป์ พ.ศ. 2455 มณฑลอีสานถูกแบ่งเป็นมณฑลอุบลราชธานีและมณฑลร้อยเอ็ด มณฑลอุบลราชธานี มีเมืองในสังกัด เมือง คือ เมืองอุบลราชธานี เมืองขุขันธ์ และเมืองสุรินทร์ ส่วนเมืองสังขะถูกยุบ เหลืออำเภอสังขะ และย้ายที่ตั้งอำเภอไปตั้งที่บ้านเขวา ขึ้นจังหวัดสุรินทร์มาจนทุกวันนี้ การตั้งอำเภอสังฆะขึ้นที่บ้านเขวาไม่ทราบเหตุใดจึงได้เปลี่ยนการเขียนจาก "สังฆะ" เป็น "สังขะ" ประวัติความเป็นมาของเจ้าเมืองสังฆะ เมืองสังฆะ เดิมเรียกว่า บ้านโคกอัจจะ (หรือบ้านดงยาง) ในสมัยกรุงศรีอยุธยารัชสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ ได้รับการยกฐานะขึ้น เป็นเมือง พระราชทานนามว่า เมืองสังฆะ มีพระยาสังฆะบุรีศรีนครอัจจะ (เชียงฆะ-หลวงเพชร) เป็น เจ้าเมืองคนแรก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2306 และคงดำรงฐานะในเมืองเรื่อยมาจนกระทั่งถึง พ.ศ. 2450 จึงถูกเปลี่ยนฐานะเป็นอำเภอเรียกว่า อำเภอสังขะ ขึ้นกับจังหวัดสุรินทร์ มาจนปัจจุบันนี้ สมัยเป็นเมือง สังฆะ มีเจ้าเมืองดังนี้ พระยาสังฆะบุรีศรีนครอัจจะ (เชียงฆะ) เจ้าเมืองสังฆะคนที่ 1 เชียงฆะเป็นหัวหน้าหมู่บ้านอัจจะปะนึง หรือโคกอัจจะ ซึ่งเป็นหมู่บ้านกวย เมื่อ พ.ศ. 2302 ในรัชกาลพระที่นั่งสุริยามรินทร์ กรุงศรีอยุธยา ช้างเผือกแตกโรงออกจากเมืองหลวงไปทางทิศตะ วันออก เซียงฆะได้อาสาไปจับช้างเผือก ซึ่งแตกโรงมาจากกรุงศรีอยุธยา พร้อมกับหัวหน้าหมู่บ้าน คนอื่น ๆ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้มีบรรดาศักดิ์สูงขึ้น หลวงเพชร (เซียงฆะ) เป็นพระสังฆะบุรีศรีนครอัจจะ ยกบ้านอัจจะปะนึงหรือบ้านดงยางเป็น "เมืองสังฆะ" ให้พระสังฆะ บุรีศรีนครอัจจะเป็นเจ้าเมืองปกครองเมืองประมาณปี พ.ศ. 2306 เนื่องจากเมืองสังฆะ (ต่อมาเขียนเป็นเมืองสังฆะ) เป็นเมืองที่ตั้งมาพร้อมกับเมืองสุรินทร์ และ เมืองขุขันธ์จึงได้นำ กำลังเข้าสมทบกับกองทัพหลวงด้วยกันทุกครั้ง เช่น พ.ศ. 2342 มีตราโปรดเกล้าฯ ให้เกณฑ์ กำลังเมืองสุรินทร์ (ปะทายสมันต์) เมืองสังฆะ และเมืองขุขันธ์ เมืองละ 100 รวม 300 คน เข้ากองทัพยกตีกองทัพพม่า ซึ่งยกเข้ามาในเขตเมืองเชียงใหม่ แต่กองทัพยังไปไม่ถึงพม่าถอย ทัพไปก่อนแล้ว จึงโปรดฯ ให้ยกกองทัพกลับ พ.ศ. 2350 ทรงพระราชดำริว่าเมืองสุรินทร์ เมืองสังฆะ และเมืองขุขันธ์เป็นเมืองคอยตามเสด็จพระราชดำเนินไปราชการสงครามหลายครั้ง มีความชอบมาก จึงโปรดเกล้าฯให้ตั้ง 3 เมือง ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ มีอำนาจชำระคดีได้เอง ไม่ต้องขึ้นต่อเมืองพิมายเหมือนแต่ก่อน พระยาสังฆะบุรีศรีนครอัจจะ (ท้องด้วง) เจ้าเมืองสังฆะ คนที่ 2 พระยาสังฆะบุรีศรีนครอัจจะ(เซียงฆะ) เจ้าเมืองสังฆะคนที่ 1 ถึงแก่กรรมเมื่อใด ไม่ปรากฏ แต่ นายทองด้วง ซึ่งบุตรได้ขึ้นดำรงตำแหน่งแทนบิดา ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2369 เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์เป็นกบฏยกกองทัพมุ่งเข้ากรุงเทพฯ เจ้านครจำปาศักดิ์ (โย้) ยกทัพมาตีเมืองขุขันธ์ เมืองสังฆะ เมืองสุรินทร์แตก จับเจ้าเมืองปลัด และยกกระบัตรเมืองขุขันธ์ฆ่าเสีย ส่วนพระยาสังฆะ พระยาสุรินทร์หนีไปได้และต่อมาก็ได้เกณฑ์ไพร่พลมาสู้รบป้องกันรักษาเมืองในภายหลัง สมทบกับกองทัพหลวงจนเสร็จสงครามพ.ศ. 2371 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้พระยาสังฆะ ไปเป็นเจ้าเมืองขุขันธ์ตำแหน่งที่พระยาไกรลัยตีศรีนครลำดวนให้พระไชยเป็นพระภักดีภูธรสงครามปลัดให้พระสะเทื้อน (นวน) เนพระแก้วมนตรียกกระบัตร ให้นายหล้าบุตรพระยาขุขันธ์ (หลวงปราบ) เป็นพระมหาดไทย พระยาสังฆะบุรีศรีนครอัจจะ (ทองอินทร์) เจ้าเมืองสังฆะ คนที่ 3 นายทองอินทร์เป็นบุตรของพระยาสังฆะ (ทองด้วง) สมรสกับนางจันทร์ บุตรสาวของพระยาสุรินทร์ (สุ่น) เมื่อบิดาได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ ไปปกครองเมืองขุขันธ์ จึงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองสังฆะแทนพ.ศ. 2386 เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) เป็นแม่ทัพ ยกกองทัพมาตั้งที่เมืองอุดรมีไชยเพื่อระวังภัยจากฝ่ายญวน ให้เมืองสังฆะเกณฑ์กำลังเข้าไปสมทบ เพื่อลาดตระเวนเขตแดนด้านญวนพ.ศ. 2409 พระยาสังฆะของพระราช ทานตั้งบ้านวังแคเป็นเมือง (จงกัล) ให้หลวงสัสดี (สิน) เป็นที่พระพิไชย เจ้าเมืองพรหมขันธ์ ขึ้นเมืองสังฆะ พ.ศ. 2412 พระยาสังฆะ กราบบังคมทูลขอตB งบ้านกุดประไทยาหรือบ้านจารพัตรเป็นเมืองขอหลวงไชยสุริยา (คามี) บุตรหลวงไชยสุรินทร์ (หมื่นคม) กองนอกเป็นเจ้าเมือง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านกุดประไทย หรือบ้านจารพัตรเป็นเมืองศรีขรภูมิพิไสย และให้หลวงไชยสุริยง (กำมี) เป็นพระยาศรีขรภูมานุรักษ์เจ้าเมือง พระราชทานเครื่องยศ คือ กาดหมากเงิน 1 คนโทเงิน 1 สัปทนแพรหสิน 1 กับเสื้อผ้าตามสมควรให้หลวงจตุรงค์ วงศาเป็นปลัดขุนจำนงเป็นหลวงประเสริฐเกริยงไกรยกกระบัตรเมืองศรีขรภูมิพิสัย ขึ้นเมืองสังฆะให้พระยาสุรินทร์พร้อมกัน ไปปักหลักที่ปลายห้วยตัดจุก แห่งหนึ่งเป็นแขวงเมืองศรีขรภูมิพิสัยโปรดเกล้าฯให้พระสุนทรพิทักษ์ บุตรพระปลัดคนเก่า เป็นปลัดและให้หลวงศรีสุราชหลานพระยาสังฆะเป็นยกกระบัตรเมืองสังฆะในปีเดียวกันนี้ได้มีตราให้เกณฑ์คนเมืองสังฆะ ไปก่ออิฐกำแพงเมืองปราจีนบุรีพ.ศ. 2414 พระยาสังฆะ มีใบบอกขอตั้งบ้านลำพุกเป็นเมืองขอพระมหาดไทยเมืองสังฆะ เป็นเจ้าเมืองจึงโปรดเกล้าฯให้ยกบ้านลำพุกขึ้นเป็นเมืองกันทรารมย์ ตั้งให้พระมหาดไทยเป็นพระกันทรานุรักษ์เจ้าเมือง ขึ้นกับเมืองสังฆะ พระพิไชยสรเดช หลวงทรงวิไชย ขุนมณีโอสถ หมื่นไชยสงครามข้าหลวงสักกรอก ตั้งกองสักอยู่ที่เมือง สังขะ พ.ศ. 2420 พระพิไชยสุนทร เจ้าเมืองจงกัลถึงแก่ พระศักดิ์เสนีเป็นข้าหลวงรักษาราชการอยู่เมืองสังขะ ได้ให้หลวงสุนทรนุรักษ์ (เทศ) รักษาการแทน ผู้หลานทำใบบอกไปกรุงเทพฯ ขอให้พระสุนทรนุ-รักษ์เป็นพระทิพชล สินธุ์อินทรนฤมิตร เจ้าเมืองจงกัล จึงได้รับกรุณาโปรดเกล้าฯ ตามคำขอ พ.ศ. 2424 พระยาสังฆะ (ทองอินทร์) ถึงแก่กรรม พ.ศ. 2427 โปรดเกล้าพระราชทานหีบศิลาหน้าเพลิง 1 ผ้าไตร 2 ผ้าไตรขาว 5 พับ รุ่น 50 คัน รองเท้า 50 คู่ สำหรับปลงศพ พระสังฆะบุรีศรีนครอัจจะ (นุต) เจ้าเมืองสังฆะ คนที่ 4 นายนุตเป็นบุตรพระยาสังฆะ (ทองอินทร์) เป็นที่พระอนันตภักดีผู้ช่วยเมืองสังฆะได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เป็นเจ้าเมืองสังฆะ ที่พระสังฆะบุรีศรีนครอัจจะ พ.ศ. 2431 พระทิพชลสิทธุ์อินทรนฤมิตร (ทิพย์ธานินทร์อินทรนฤมิตร) เจ้าเมืองพรหมขันธ์ ผู้บุตรถึงแก่กรรม พระยาสังฆะจึงให้หลวงพินิจสมบัตรรักษาเมืองพรหมขันธ์ (หรือจงกัล) พ.ศ. 2434 พระเจ้าน้อยกรมหลวงพิชิต ปรียากรเป็นข้าหลวงใหญ่หัวเมืองลาวกาว ตั้งกองอยู่ ณ เมืองอุบลราชธานีมีเมืองใหญ่ในบังคับบัญชา 21 เมือง รวมทั้งสังฆะด้วย พระองค์ได้ทรงวางระเบียบให้มีข้าราชการจากส่วนกลางมาดำรงตำแหน่งข้าหลวงกำกับราชการทุก หัวเมือง สำหรับเมืองสังฆะให้พระศรีพิทักษ์ (หว่าง) เป็นข้าหลวงกำกับเขตเมืองสุรินทร์ เมืองขุขันธ์ เมืองศรีสะเกษ และเมืองสังขะ มีอำนาจทัดเทียมเจ้าเมืองข้าหลวงมีที่ทำการตั้งอยู่ที่เมืองขุขันธ์ พ.ศ. 2435 ฝรั่งเศสได้ฟ้องเสนาบดีกระทรวงต่างประเทศว่า มีผู้ร้ายถืออาวุธเข้าปล้นในเขตแดนเมืองเขมรหลายตำบล ในแขวงเมืองกำแพงสวาย มีหัวหน้า 2 คน (หมายถึงพระสยามสีมาเจ้าเมืองราม กับพระภักดีสยามรัฐเจ้าเมืองดมทั้งสอง เมืองนี้ขึ้นกับเมืองสังฆะ) ซึ่งแต่ก่อนเป็นข้าราชการในแผ่นดินเขมรได้หนีมาอาศัยอยู่ในเขตแดนสยาม ขอให้สอบสวนลงโทษ รัฐบาลสยามได้ชี้แจงหลายครั้งแต่ฝรั่งเศสไม่ยอมเชื่อ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้ข้าหลวงเดินทางไปสอบสวนพิจารณาคดีที่เมืองเชียงแดง โดยให้พระอุโบสถวัดใต้ในเมืองเชียงแดงเป็นที่พิจารณาคดี ก็ปรากฏว่าคดีไม่มีมูล จึงปล่อยจำเลยไป พระยาสังฆะบุรีศรีนครอัจจะ (ทองดี) เจ้าเมืองสังฆะ คนที่ 5 หรือพระสังฆะศักดิ์สุนทรเขต ผู้ว่าราชการเมือง นายทองดีเป้าบุตรของพระยาสังฆะฯ (นุต) เมื่อบิดาถึงแก่อนิจกรรมได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระสังฆะศักดิ์ สุนทรเขต ผู้ว่าราชการเมืองสังฆะ พ.ศ. 2436 ฝรั่งได้ยกทัพขึ้นทางเมืองเชียงแดงเมืองสีททันดร และเมืองสามโบก ซึ่งเป็นราชอาณาจักรของไทย พระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงพิชิตปรีชากร ในฐานะผู้สำเร็จราชการข้าหลวงใหญ่มณฑลอ่าน ผู้อำนวยการป้องกันราชอาณาจักร ให้เกณฑ์กำลังหัวเมืองต่าง ๆ เข้าตรึงการรุกรานของฝรั่งเศสทุกจุด แต่สถานการณ์ ก็คลี่คลายลงเพราะมีการเจรจาทางการทูต และในวันที่ 3 ตุลาคม 2436 ฝ้ายไทยก็ยอมสละสิทธิ์ทั้งหมดในดินแดน ฝั่งซ้ายน้ำโขง และบรรดาการทั้งหลายในลำน้ำด้วยให้ฝรั่งเศส พ.ศ. 2443 พระอนันต์ภักดี (นุด) ผู้รักษาเมืองถึง แก่กรรม ท้าวตอน น้องพระอนันต์ภักดี (นุด) บุตร พระยาสังฆะ (ทองอิน) ได้เป็นผู้รักษาการเจ้าเมืองสังฆะ ท่านผู้นี้ชาวบ้านเรียก "พระพนธ์" พ.ศ. 2450 เปลี่ยนบริเวณสุรินทร์ เป็น จังหวัดสุรินทร์ และเปลี่ยนเมืองสังฆะ เป็นอำเภอสังขะ และย้ายที่ตั้งอำเภอไปตั้งที่บ้านเขวา ขึ้นจังหวัดสุรินทร์มาจนทุกวันนี้ การตั้งอำเภอสังขะขึ้นที่บ้านเขวา ไม่ทราบสาเหตุใดจึงได้เปลี่ยนการเขียนชื่อ จาก "สังฆะ" มาเป็น "สังขะ" ในปัจจุบันนี้ โดยมีรองอำมาตย์โท พระอภิสารสังขะเขตต์ (แดง สุคันธรัต) เป็นนายอำเภอคนแรก ปกครองนาน 25 ปี (พ.ศ. 2451-2476) และมีนายอำเภออื่น ๆ ตามลำดับดังนี้ พระอภิสารสังขเขตร (แดง สุคันธรัต) ขุนมูลศาสตร์สาธร (พงษ์ มูลศาสตร์) นายบุญจันทร์ โล่ห์สุวรรณ นายพนม นามวัฒน์ นายรื่น รักษ์คิด นายเชื้อ เพชรช่อ นายชื่น ไมยรัตน์ นายอรุณ สืบสิทธิ์ นายสังข์ สืบสหการ นายชิต มหาวีระ นายสม ทัดศรี นายเทพ ทิมาตฤกะ พันตรีปิติ เมธาคุณวุฒิ นายจุนพงษ์ จันทรดี นายวิชัย ทัศนเศรษฐ นายอุบล เอื้อศรี นายสุรินทร์ พันธ์ฤกษ์ ว่าที่ร้อยตรีวรงค์ ศิริพานิช นายชัยศรี เจริญรัตน์ นายนพปฎล เสาสูง นายสุชีพ แข่งขัน นายสุพล ลีมางกูร นายสันติชัย คงเถลิงศิริวัฒนา นายสมศักดิ๋ แสงหิรัญ นายวัลลพ เรืองเจริญพร นายกฤษฎา แก้วสองเมือง นายสันติ โอฆะพนม (คนปัจจุบัน) คำขวัญประจำอำเภอ สังขะเมืองสะอาด ปราสาทงดงาม ทับทิมสยามศูนย์สี่ เขียวขจีป่าสน สภาพทางภูมิศาสตร์ อำเภอสังขะเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสุรินทร์ ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้ง 14 องศา 20 ลิปดา - 14 องศา 45 ลิปดาเหนือ เส้นแวง 103 องศา 40 ลิปดา - 104 องศาตะวันออก ลักษณะที่ตั้งของอำเภอสังขะ อยู่ห่างจากจังหวัดสุรินทร์ประมาณ 51 กิโลเมตร พื้นที่เป็นที่ราบ ผลจากของการยกตัวของเปลือกโลก ทำให้พื้นที่ของอำเภอสังขะ สูงทางด้านทิศใต้และลาดเอียงสู่ทิศเหนือ ดังนั้นลำน้ำจึงไหลจากทิศใต้ไปทางทิศเหนือลงสู่แม่น้ำมูล อำเภอสังขะไม่มีลำน้ำขนาดใหญ่มีเพียงลำห้วย คือ ลำห้วยทับทัน และลำห้วยเสน นอกนั้นเป็นลำห้วยที่มีน้ำเฉพาะฤดูฝนเนื่องจากพื้นที่ลาดเอียงมาก เมื่อฝนตกน้ำจึงไหลลงไปสู่ที่ต่ำหมด พื้นที่จึงไม่สามารถรับน้ำหรือเก็บกักน้ำได้โดยธรรมชาติ มีห้างเทสโก้ โลตัส มีศูนบริการรดยนมากมาย ประชากร ประชากรดั้งเดิมอำเภอสังขะ มีชนกลุ่มใหญ่อยู่สองกลุ่ม คือ กลุ่มชนชาวกวย และกลุ่มชนชาวเขมร ส่วนชุมชนลาวจะเป็นชุมชนเข้ามาตั้งรกรากใหม่ หมู่บ้านที่เกิดขึ้นใหม่ไม่เกิน 60 ปี จะประกอบไปด้วยชุมชนชาวลาว กวย และเขมรรวมกัน ประชากรทั้งสามกลุ่มจะผูกพันกันทางสังคม โดยต่างเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและผูกพันกัน ประสานความเป็นพี่น้องกันอย่างแนบแน่นด้วยการเกี่ยวพันธ์กันในการทางแต่งงาน จึงมีการผสมผสานกันอย่างกลมกลืน ไม่เคยพบปัญหาของการใช้ภาษาที่ต่างกันแต่อย่างไร รวมถึงประเพณีวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่ตั้งและอาณาเขต อำเภอสังขะตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอลำดวนและอำเภอศรีณรงค์ ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอขุขันธ์ (จังหวัดศรีสะเกษ) และอำเภอบัวเชด ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดอุดรมีชัย (พระราชอาณาจักรกัมพูชา) ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอกาบเชิงและอำเภอปราสาท การแบ่งเขตการปกครอง เมืองสังขะเมื่อก่อนมีฐานะเทียบเท่าจังหวัดในปัจจุบันได้ถูกยุบฐานะเป็นอำเภอเมื่อ พ.ศ. 2450 ต่อมาบางส่วนของพื้นที่ถูกแยกไปตั้งเป็นอำเภอ เช่น อำเภอลำดวน อำเภอบัวเชด อำเภอศรีณรงค์ และบางตำบล เช่น ตำบลบ้านด่าน ตำบลคูตัน อำเภอกาบเชิง เป็นต้น การแบ่งการปกครอง ปัจจุบันอำเภอสังขะแบ่งการปกครองเป็น 12 ตำบล 187 หมู่บ้าน มีพื้นที่ 1,009 ตารางกิโลเมตรดังนี้ ท้องที่อำเภอสังขะประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 13 แห่ง ได้แก่ เทศบาลตำบลสังขะ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลสังขะและบางส่วนของตำบลบ้านชบ องค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสังขะ (นอกเขตเทศบาลตำบลสังขะ) องค์การบริหารส่วนตำบลขอนแตก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลขอนแตกทั้งตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลดม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดมทั้งตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลพระแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพระแก้วทั้งตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจารย์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านจารย์ทั้งตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลกระเทียม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกระเทียมทั้งตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลสะกาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสะกาดทั้งตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลตาตุม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตาตุมทั้งตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลทับทัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทับทันทั้งตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลตาคง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตาคงทั้งตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านชบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านชบ (นอกเขตเทศบาลตำบลสังขะ) องค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเทพรักษาทั้งตำบล สภาพเศรษฐกิจ ภาคเกษตรกรรม ประชนชนในพื้นที่ส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งพืชเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ ยางพารา ข้าว มันสำปะหลัง ซึ่งยางพาราเมืองสังขะเป็นเมืองที่ปลูกยางพารามากที่สุดในจังหวัดสุรินทร์ ภาคอุตสาหกรรม ปัจจุบันนี้โรงงานอุตสาหกรรมได้เกิดขึ้นในเมืองสังขะอย่างมากมาย ซึ่งโรงงานอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมเย็บตัดเสื้อผ้าสำเร็จรูป (ส่งออกต่างประเทศ) อุตสาหกรรมไม้แปรรูป โรงงานอุตสาหกรรมอัดยางพารา อุตสาหกรรมน้ำตาโรงเลื่อย โรงงานอัดบล็อก อิฐ โรสีข้าวและโรงน้ำแข็ง


free counter