๑. ประวัติทั่วไปของสถานศึกษา
วิทยาลัยการอาชีพสังขะ กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เป็นวิทยาลัยการอาชีพระดับอำเภอ จัดตั้งขึ้นตามนโยบายของรัฐบาล โดยกระทรวงศึกษาธิการเห็นควรให้ขยายโอกาสทางการศึกษาด้านวิชาชีพให้กว้างขวางขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในชนบท และตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานในท้องถิ่น รวมทั้งทันต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมในส่วนรวม ในการจัดการศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพทุกระดับวิชาชีพที่ขาดแคลน ซึ่งเป็นความต้องการของท้องถิ่นและของประเทศ อันเป็นการเสริมสร้างและพัฒนาคนของประเทศให้มีคุณภาพในการประกอบวิชาชีพและมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น
จากนโยบายดังกล่าว วิทยาลัยการอาชีพสังขะ ได้รับการประกาศจัดตั้งโดยฯพณฯ กำชัย เรืองกาญจนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๓๘ โดยมี นายวโรภาส ศรีพันธุ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด เป็นผู้ประสานงานจัดตั้งวิทยาลัยการอาชีพสังขะ
ทำเนียบผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพสังขะ
นายวโรภาส ศรีพันธุ์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ ๓๐ พ.ค. ๓๘ - ๔ ม.ค. ๔๕
นายอุดร เห็นชอบดี ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ ๕ ม.ค. ๔๕ - ๓๑ ก.ค. ๔๙
นายบุญเลิศ สัสสี ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ ๑ ส.ค. ๔๙ - ๒๕ ต.ค. ๕๐
นายบรรจงศักดิ์ ทองยศ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ ๒๑ พ.ค. ๕๑ - ๓๐ ก.ย. ๕๔
ว่าที่ร้อยโทบุญชุบ หลั่งทรัพย์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ ๒๑ ธ.ค. ๕๔ - ๑ ธ.ค. ๖๒
นายวิโรจณ์ ทองเรือง ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ ๒ ธ.ค. ๖๒ - ๓๑ ต.ค.๖๓
นางแสงดาว ศรีจันทร์เวียง ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ ๒ พ.ย. ๖๓ - ปัจจุบัน
๒. ขนาดและที่ตั้ง
ที่ขนาดและที่ตั้ง วิทยาลัยการอาชีพสังขะ มีพื้นที่ทั้งหมด ๑๐๐ ไร่ ระยะทางห่างจากอำเภอเมืองจังหวัดสุรินทร์ ประมาณ ๕๔ กิโลเมตร ตั้งอยู่บ้านเลขที่ ๔๙ หมู่ ๗ ถนนโชคชัย – เดชอุดม ตำบลบ้านชบ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ รหัสไปรษณีย์ ๓๒๑๕๐ โทรศัพท์ ๐๔๔-๕๗๑-๐๗๘ โทรสาร - อีเมล์ sangkhaicec@yahoo.co.th เว็บไซต์ : www.sangkhaicec.ac.th
๓. สภาพชุมชน เศรษฐกิจ สังคม
สภาพชุมชน อำเภอสังขะ ยังไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมใดเข้าไปทำธุรกิจจึงไม่มีปัญหาด้านมลพิษหรือประสบปัญหาสภาพแวดล้อมมากนัก เพียงแต่อำเภอสังขะมีผู้คนอพยพเข้ามาหาที่ทำกินตั้งถิ่นฐานมากขึ้น การบุกรุกทำลายป่าจึงเกิดขึ้นทั่วทุกพื้นที่ป่าจึงเหลือเพียงบางแห่งที่มีเจ้าหน้าที่ดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องเท่านั้น เช่น ป่าดงคู ที่มีสนสามใบ เป็นต้น
สภาพสังคม ประชากรส่วนใหญ่ของอำเภอสังขะ นับถือศาสนาพุทธ โดยกลุ่มคนดั้งเดิม มีสองกลุ่มใหญ่คือ กลุ่มชนชาวส่วยและกลุ่มชนชาวเขมร ชุมชนชาวลาวเป็นชุมชนที่เข้ามาตั้งรกรากใหม่ แต่ทั้งสามกลุ่มก็มีความผูกพันกันทางสังคม มีการผสมผสานกันอย่างกลมกลืน และมีความเป็นอยู่แบบเรียบง่าย เชื่อฟังและเคารพผู้นำของหมู่บ้าน จึงไม่พบปัญหาการใช้ภาษาที่ต่างกันแต่อย่างไร จะมีบ้างก็คือด้านประเพณี วัฒนธรรม และชีวิตความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันไปตามชาติกำเนิด ซึ่งสืบเนื่องมาจากประเพณีท้องถิ่นที่มีมาแต่บรรพบุรุษที่แตกต่างกัน
สภาพเศรษฐกิจ ของชุมชนในเขตบริการของวิทยาลัยการอาชีพสังขะ ผู้ปกครองของนักเรียนนักศึกษาส่วนใหญ่ยากจน รายได้อยู่ในเกณฑ์ต่ำไม่สามารถส่งบุตรหลานเข้าศึกษาต่อที่อยู่ในเมืองหรือต่างจังหวัดได้ นักเรียนนักศึกษาที่เข้ามาศึกษาในวิทยาลัยฯ มักจะมีปัญหาเรื่องการเงิน ดังจะเห็นได้จากการแสดงความจำนงขอกู้เงินกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาจำนวนมาก
๔. ปรัชญา(Philosophy)
วิชาการดี มีวินัย ใฝ่ศึกษา พัฒนาสังคม
๕. วิสัยทัศน์ (Vision)
พัฒนาและผลิตกำลังคนให้มีความรู้ มีมาตรฐาน มีความเชี่ยวชาญด้านวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม บริการชุมชน ส่งเสริมภูมิปัญญาบนพื้นฐานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๖. พันธกิจ (Mission)
๖.๑. จัดการศึกษาทุกระบบ ให้มีมาตรฐาน
๖.๒. จัดการศึกษาโดยเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ให้กับนักเรียน นักศึกษาให้เข้มแข็ง
๖.๓. ฝึกอบรมและบริการชุมชนตามเป้าหมายของการจัดการอาชีวศึกษา
๖.๔. วิจัยและพัฒนาด้านอาชีพสู่ชุมชน
๗. เอกลักษณ์ (Traits)
พอเพียง เรียนรู้คู่การปฏิบัติ
๘. อัตลักษณ์ (Identity)
บริการวิชาชีพสู่สังคม
๙. เป้าประสงค์
๑. สถานศึกษาได้รับการรับรองการจัดการอาชีวศึกษาได้ตามมาตรฐาน สอศ. สมศ.
๒. ผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษามีคุณธรรม จริยธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคม
๓. ชุมชนมีอาชีพตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
๔. สร้างนวัตกรรมในการพัฒนาอาชีพสู่สังคม
๑๐. จุดเน้นในการพัฒนาของสถานศึกษา
๑. พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีวัฒนธรรมแบบกัลยาณมิตรผนึกพลังสร้างสรรค์และร่วมรับผิดชอบ
๒. ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาวิชาชีพควบคู่กับการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงาม
๓. พัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนให้ได้มาตรฐานตรงตามต้องการของสถานประกอบการและได้มาตรฐานสากล
๔. ส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยสร้างนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์และโครงงานที่นำไปใช้ในการพัฒนาการเรียน การสอนและพัฒนาอาชีพ
๕. พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือกับภาครัฐเอกชนในการให้บริการวิชาชีพและการฝึกอบรมที่หลากหลาย
๖. พัฒนาศักยภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
๗. พัฒนาครู บุคลากรทางการศึกษาให้เป็นมืออาชีพ
-
-
บทเรียนออนไลน์
- นายคำพวง สายศร
- นายศิรเชษฐ์ สุขอุ้ม
- นายสุวิทย์ ศิริหนองหว้า
- นายอาทิตย์ สิทธิจันทร์
- นายสมศักดิ์ แสนแก้ว
- นายชาครีย์ มะลิงาม
- นายมนตรี แสงจันทร์
- นายสันติ บุญล้อม
- นายอดิศักดิ์ แก้วใส
- ว่าที่ร้อยโทสราวุธ ถุนาพรรณ์
- นายเรวัชร์ แผ่นงา
- นายสมพงศ์ จำปาทิพย์
- นายบรรจง ศิริสุข
- นายวีรยุทธ เลิศสิทธิ์
- สิบเอกอภิวัฒน์ แก้วงาม
- นายธนโรจน์ พลทา
- นายชมพูศักดิ์ พนากอบกิจ
- นายเฉลิมวุฒิ ดัชถุยาวัตร
- นายธนศักดิ์ มากมี
- นายฐิติพงษ์ บุญเต็ม
- นายธานี ครึ่งมี
- นายทิคัมพร สารพล
- นายนาวิน วงค์ฉลาด
- นายธีรพงษ์ ศรีขาว
- นายสุรจิตร สุจินพราหมณ์
- นางสาวธนวรรณ ใจพล
- นายจักรี คะเณมา
- นายบูรณ์พิพัฒน์ บริบูรณ์
- นายจรัส พิมละมาศ
- นายวงศ์เจริญ ยอดทอง
- นางสาวสมจิตร จันศรี
- นางสาวสมจิตร จันศรี
- นางนิศรา เจริญผล
- นายอดิศักดิ์ ศรีดงกลาง
- นางสาวบัวทอง ศาลางาม
- นางสาวปณิษฐา ยอดเกษ
- Rechel Benjamen
- นางสาวเอื้อการ บุญเยี่ยม
- นางธนภร บูรณ์เจริญ
- นางดวงใจ ขาวงาม
- นางสาวนิตยา ป้องเขตร
- นางสาวพนมกร แก้วใส
- นางสาวนิตยา เบิกบาน
- นางวราภรณ์ ทับผา
- นางสาวสุพัตรา ฤทธิ์ศักดิ์
- นางนงค์นุจ แซ่จึง
- นางวนิดา ผลเจริญ
- นางนิชานาถ รักษาวงค์
- สิบเอกไพรัตน์ แก้วมารยา
- นางสาวพรรษาพร แสนศรี
- นายภาสกร เต๋ยะ
- นางสาวสโรชา ไชยรักษ์
- นายอดิศักดิ์ แสงดอกไม้
-
บทเรียนออนไลน์
ข้อมูลทั่วไปของสถานศึกษา
วัน พุธ ที่ 20 ธันวาคม 2560, เวลา 17:53 น.
2997 ครั้ง